เม้นส่งต่อให้เพื่อนคลิกเลยจ้า

beemathbee017

นวัตกรรมคืออะไร

นวัตกรรม คืออะไร
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม ( หน้า 11 - 15 : นวัตกรรมการศึกษา )เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า  นวกรรม เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า  Innovation เป็นคำนามมาจากคำกริยาว่า  Innovate มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Inovare ( in ( =in )+novare = to renew, to modify ) และ novare มาจากคำว่า novus ( = new )  
                        Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “ ทำใหม่ , เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา ” คำว่า Innovation อาจจะแปลว่า “ การทำสิ่งใหม่ ๆ สิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา ” ( Webster’ s Third New “International Dictionary ” ) แต่เดิมที่มีผู้บัญญัติศัพท์ นวกรรม ขึ้นมา คงจะเทียบเคียงกับรากศัพท์ภาษาลาติน โดยใช้คำบาลี สันสกฤตแทน นว ( = ใหม่ ) + กรรม ( = การทำ, สิ่งที่ทำ ) รวมความแล้วแปลได้ว่า “ การทำใหม่, สิ่งที่ทำใหม่ ” แต่บังเอิญในภาษาบาลี มีคำว่า นวกมฺม ใช้อยู่แล้ว แปลว่า “ การก่อสร้าง, การซ่อมแซม, การสร้างใหม่ ” และในภาษาสันสกฤตก็มีคำว่า นวการฺมิก แปลว่า “ ผู้คุมงานก่อสร้าง, ช่างก่อสร้าง ” นอกจากนั้นในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ก็มีคำว่า นวกรรม, นวการ และนวกิจ แปลว่า “ การก่อสร้าง ” และ นวกรรมมิก  แปลว่า “ ผู้ดูแลการก่อสร้าง ” จะเห็นได้ว่า คำว่า  “ นวกรรม ” มีความหมายแน่นอนอยู่แล้ว และยังเป็นคำที่มีในภาษาไทย ก่อนที่คำว่า Innovation จะเข้ามาเสียอีก ถ้าจะใช้คำว่า นวกรรม แทนคำว่า Innovation อาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ง่าย จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า นวัตกรรมขึ้นมาแทน นวกรรม ที่ใช้ในวงการศึกษาแต่เดิม
                        เมื่อพิจารณาดูในภาษาบาลี คำว่า Innovate แปลว่า “ นวตฺตํ ชเนติ ” ( = ให้ได้มาซึ่งสิ่งใหม่ ) หรือ “ นวตฺตํ ปาเปติ ” ( = ได้มาซึ่งสิ่งใหม่ ) ซึ่งคำว่า Innovation แปลว่า / “ นวตฺตํ ปาปณ ” ( = การให้ได้มาซึ่งสิ่งใหม่ ) คำว่า “ นวตต ” โดยรูปศัพท์เป็นคำนาม แปลว่า “ ความใหม่, สิ่งใหม่ ” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า novelty เมื่อนำเอาคำว่า “ นวตต ( บาลี ) + กรมม ( สันสกฤต) ” จึงแปลได้ว่า “ การทำสิ่งใหม่ ” หรือ “ งานที่เป็นสิ่งใหม่ ” ถ้าแปลรูปเป็นภาษาไทยจะกลายเป็น “ นวัตต ” เนื่องจากมี ต ซ้อนกัน 2 ตัว และตัวหลังไม่มีสระกำกับ จึงตัดออกตัวหนึ่ง เหลือเพียง “ นวัต ” แต่ยังคงอ่านว่า “ นะ-วัด-ตะ ” เราจึงได้คำใหม่ “ นวัตกรรม ”  มาใช้แทนคำว่า Innovation ในวการศึกษา
                       
 
 
 
                        เมื่อพิจารณาความหมาย ศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษา คำว่า “ นวัตกรรม  หมายถึง “การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิมเพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น”   ฉะนั้น ไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ   เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือมุ่งที่จะให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมของวงการนั้น ๆ เช่น ถ้าในวงการศึกษานำเอาเข้ามาใช้ก็เรียกว่า “ นวัตกรรมการศึกษา ” ( Educational Innovation ) สำหรับผู้ที่กระทำหรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้เรียกว่าเป็น “ นวัตกร ” ( Innovator )
                        ในที่นี้จะยกตัวอย่างความหมายของคำว่า “ นวัตกรรม ”   ตามความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ มาพอสังเขปดังนี้
                        ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes ) ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา ) ได้ให้ความหมาย   Invention ) การพัฒนา ( Development ) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน ( Pilot Project ) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
                        มอร์ตัน ( Morton , J.A. ) ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา )ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizing for innovation ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ( Renewal ) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
                        ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา ) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
                        สวัสดิ์ บุษปาคม ( 2517 )ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง การปฏิบัติหรือกรรมวิธี ที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการกระทำการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                       
 
 
                        จรูญ วงส์สายัณห์  ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา )ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรม ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันไป 2 ระดับ โดยทั่วไป    นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่ง  ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ  เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น
        สรุป
                        นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในระบบการทำงาน การนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขี้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อพัฒนาไปสู่การมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมจะต้องมีการคิดค้นและพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงานของแต่ละด้านนั้น ๆ
Today, there have been 9 visitors (13 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free